หลายคนอาจจะมีข้อกังขาสำหรับเรื่องLGBTในบ้านเรานะคะว่า เอ๊ะ! ในเมื่อบ้านเราเป็นประเทศนึงที่ค่อนข้างเปิดกว้างเรื่องเพศทางเลือก ในแบบที่ว่าคนในประเทศจะเป็นเกย์ เป็นเลสเบี้ยน เป็นทอม เป็นกะเทยก็ไม่ใครว่า นักท่องเที่ยวที่เป็นLGBTจะมาเที่ยวบ้านเราก็ไม่มีใครห้าม แล้วเหตุใดจึงยังไม่มีกฎหมายเพื่อเพศที่3 ได้ปกป้องตัวเองบ้างนะ? (ในกรณีที่ถูกคนที่มีอคติ ไม่เข้าใจ เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมค่ะ)
ตอบได้เลยค่ะว่า มีแล้ว! เพิ่งจะมีเมื่อต้นปี 2558 นี้เอง บางคนอาจจะยังไม่ทราบ หรือเป็นที่ทราบกันในวงแคบ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวก็คือ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมกันทางเพศ พ.ศ.๒๕๕๘ โดยมีเหตุผลก็คือ เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมทางเพศ
“การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายความว่า การกระทําหรือไม่กระทําการใด อันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจํากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจาก ความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศ โดยกําเนิด
โครงสร้างของกฎหมายประกอบด้วย หนึ่ง “คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ” เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ สทพ.” สอง คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และสาม กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
โดยมีบทกำหนดโทษ มีทั้งจำคุกและปรับ ดังนี้
มาตรา ๓๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ วลพ. ตามมาตรา ๒๐ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๓๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําท้งปรับ
มาตรา ๓๖ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้เห็นว่าผู้ต้องหา ไม่ควรได้รับโทษจําคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง ให้มีอํานาจเปรียบเทียบ ดังต่อไปนี้
(๑) อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
(๒) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้น ในจังหวัดอื่น
ในกรณีที่มีการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบตาม (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
เมื่อผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกัน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
อ่านกฎหมายฉบับเต็มได้ที่ http://www.gender.go.th/plan/pdf/p0001.pdf
ถึงแม้ว่าตั้งแต่มี พ.ร.บ.นี้ขึ้นมายังไม่มีเคสตัวอย่างเกิดขึ้นให้เป็นที่ประจักษ์ แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีนะคะว่ากฎหมายบ้านเราก็พอจะสนใจ รับฟังเสียงจากเพศที่3บ้างแล้ว ใช่ว่าจะละเลยเป็นเสียงเงียบไปซะทีเดียว ต้องตามดูกันต่อไปแหละค่ะว่าจะมีอะไรที่ความคืบหน้ากว่านี้หรือไม่ หรือจะเป็นเพียงแค่กฎหมายที่นอนนิ่งเหมือนอย่างที่หลายคนเคยคิดไว้
ที่อเมริการจะมีเครือข่ายทนายที่ทำงานด้านนี้เลย ว่าความให้ฟรี อย่างเรื่องเด็กlgbtถูกโรงเรียนจำกัดสิทธิทนายก็ฟ้องโรงเรียนให้ปรับปรุงนโยบาย ฟ้องให้หมด กฏหมายเป็นสิ่งสำคัญ อย่าเงียบเฉยเป็นผู้ถูกกระทำ เงินที่ได้ก็เอามาต่อยอดมูลนิธิทนายที่ปรึกษาต่อไป