อาชีพของ LGBT : กะเทย/ทอม/เกย์ เป็นอะไรได้บ้าง?

นอกจากการเป็นที่ยอมรับในสังคม, ความเป็นอยู่ในอนาคตแบบไร้ลูกหลานดูแล การประกอบอาชีพก็เป็นสิ่งหนึ่งที่หลายคนรู้สึกเป็นห่วงชาวLGBT โดยเฉพาะพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่มีต่อลูกหลาน ซึ่งบางครอบครัวถึงกับต้องจี้ต้องบังคับให้อยู่ในทิศทางของคนปกติทั่วไป

 

พวกเขาประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง?

LGBTประกอบอาชีพได้หลากหลายกว่าที่เราคิดค่ะ ย้ำอีกทีว่ารสนิยมทางเพศไม่ใช่โรคร้ายแรงที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น สบายใจหายห่วงได้เลยว่าพวกเขาจะไร้หนทางทำกิน (ตรงกันข้าม พวกเขากลับเป็นกลุ่มคนที่อึดกว่าที่คิด เพราะไม่อยากให้ใครมาดูถูกง่าย ๆ)

 

ถ้าจะแบ่งประเภทตามรูปลักษณ์ภายนอก มี 2 แบบค่ะ

  1. กลุ่มLGBTที่เป็นผู้หญิงข้ามเพศ-ผู้ชายข้ามเพศ : ลักษณะภายนอกเด่นชัดจนสังเกตลักษณะเดิมได้ เช่น กะเทยแปลงเพศแล้ว ทอมที่รูปร่างหน้าตา-กล้ามเนื้อใกล้เคียงผู้ชาย90% คนกลุ่มนี้ไม่สามารถสมัครงานราชการได้แน่นอนค่ะ เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับได้เป็นทางการ (ถึงภายนอกจะเนียนมากจนนึกว่าเป็นผู้หญิง แต่บัตรประชาชนก็ฟ้องอยู่ดีค่ะว่าเพศกำเนิดเดิมคือใคร) เพราะฉะนั้น คนกลุ่มนี้จะผันตัวไปสมัครอาชีพอื่นแทน ซึ่งโดยรวมแล้วก็ทำได้ดีไม่แพ้กับอาชีพราชการเลย

 

ปล. บ้านเราเคยมีผู้หญิงข้ามเพศทำงานในหน่วยงานราชการค่ะ นั่นคือ นายยลดา สวนยศ หรือ “นก ยลดา” สมาชิกสภา อบจ.น่าน และนายกสภาผู้หญิงข้ามเพศแห่งประเทศไทย ผู้หญิงข้ามเพศที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง โดยการแต่งหญิงนั้นเธอได้รักษาภาพพจน์ด้วยการแต่งตัวให้เรียบร้อยเสมอ ทั้งในชุดข้าราชการและชุดพื้นเมือง เหมือนผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง ส่วนผู้หญิงข้ามเพศคนอื่น ๆ ในบ้านเรายังไม่ได้รับการยอมรับหรือเป็นข่าวสักเท่าไหร่ในวงราชการค่ะ

134272_1341476099__medium
ภาพจาก sanook.com (รายละเอียดข่าว http://news.sanook.com/1128343/)

 

  1. กลุ่มLGBTที่ภายนอกที่แต่งตัวตามเพศกำเนิด : ทอม, กะเทยที่ไม่แต่งหญิง, เกย์, เลสเบี้ยน, ดี้, ไบเซ็กชวล สามารถทำงานได้ทั้งงานราชการและเอกชน งานประจำและงานอิสระ ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบและความสามารถส่วนตัว แต่ถ้าต้องการจะทำงานราชการ คนกลุ่มนี้จะต้องยอมรับตัวเองแต่แรกว่าต้องทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ไม่ออกท่าทางลวดลายมากเกินไป (คนในเครื่องแบบบางส่วนที่เป็นเกย์, กะเทย, ทอม มีถมไปค่ะ แค่ในหน้าที่เขาไม่เปิดเผยตัวตนมากแค่นั้นเอง) ส่วนอาชีพอื่นก็แล้วแต่ความสามารถของตนเอง เดี๋ยวนี้หลายหน่วยงานก็เริ่มเปิดกว้างให้กับเพศที่สามมากขึ้น ให้อิสระการแต่งกายของพนักงานมากขึ้นแล้ว

 

ถ้าแบ่งตามโอกาสที่เปิดกว้างของแต่ละอาชีพ

  1. อาชีพที่ระเบียบเคร่งครัดที่สุด : แน่นอนว่าต้องเป็นข้าราชการ และองค์กรบางแห่งที่ไม่อาจรับผู้หญิงข้ามเพศ-ผู้ชายข้ามเพศทำงาน บางแห่งแม้แต่ออกสาวนิดหน่อยก็ไม่ได้เลย LGBTที่ประกอบอาชีพในกลุ่มนี้จึงค่อนข้างไม่เปิดเผยตัวตนมากในที่ทำงาน แต่เวลาส่วนตัวจะเป็นอะไรไปก็ค่อยว่ากันอีกที

 

  1. อาชีพที่กึ่งทางการ : องค์กรบางแห่งอาจเปิดกว้างเรื่องเพศ แต่ขอให้สวมยูนิฟอร์มขององค์กรให้เรียบร้อย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน LGBTในกลุ่มนี้ค่อนข้างสบายตัวกว่ากลุ่มแรกหน่อย เพราะจะเป็นตัวตนยังไงก็ได้ ขอแค่เคารพกฎกติกาขององค์กรได้ก็เป็นอันพอแล้ว

 

  1. อาชีพอิสระ : ในกลุ่มนี้หมายถึงทั้งอาชีพที่อิสระจริง ๆ เช่น ฟรีแลนซ์ ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว และมนุษย์เงินเดือนในองค์กรที่ให้อิสระการแต่งกาย จะแต่งอะไรก็ได้ ไม่มียูนิฟอร์ม ขอเพียงแค่อยู่ในกติกาองค์กรเป็นอันใช้ได้ ส่วนมากLGBTกลุ่มนี้จะประกอบอาชีพในสายศิลปะ เช่น นักข่าว, นักแสดง, นางแบบ, ครีเอทีฟรายการ

 

สรุปก็คือ : ชาวLGBTจะประกอบอาชีพอะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้นค่ะ ถ้าคุณเป็นพ่อแม่ เป็นญาติ เป็นคนใกล้ตัว ไม่ต้องเป็นห่วงอนาคตของพวกเขาเลย ตราบใดที่พวกเขามีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพในตัวเองมากพอ ไม่มีวันอดตายแน่นอน สบายใจได้เลย

About thailgbt 52 Articles
พูดคุยเกี่ยวกับชาวLGBTบ้านเราแบบง่าย ๆ สบาย ๆ อ่านเข้าใจง่าย ศัพท์ไม่ยาก ไม่วิชาการเกินไป แชร์จากประสบการณ์บ้าง จากสื่อที่รู้เห็นมาบ้าง

2 Comments

  1. “คนกลุ่มนี้ไม่สามารถสมัครงานราชการได้แน่นอนค่ะ”
    แบบนี้ไม่ขัดกับพรบ.ล่าสุดของไทยที่ห้ามdiscriminate lgbtเหรอ ตลกจังรัฐออกกฏหมายมาช่วย แต่ในขณะเดียวกันก็โยนหลักการพื้นฐานของกฏหมายนั้นทิ้ง อยากทราบข้อมูลเรื่องนี้เพิ่มจัง

    อยากให้มีกลุ่มแชร์ ประสบการณ์ แชร์เคล็ดลับการแต่งตัว กฏระเบียบ ในที่ทำงานกัน ไม่อยากให้ตัดโอกาสความเป็นไปได้ออกไป ทุกๆสถานการณ์มันต้องมีคนแรกเสมอ

    ปล.ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องบังคับผู้หญิงใส่กระโปรง ผู้หญิงฝรั่งนักธุรกิจเก่งๆใส่กางเกงใส่pant suitทั้งนั้น โดยเฉพาะเวลามีมีตติ้งหรือpublic speaking ดูฮิลารี่ คลินตันสิ ใส่แต่pant suitเป็นsignatureเค้าเลย แถมการใส่กระโปรงทำให้เป็นเหยื่อถูกล่วงละเมิดได่ง่ายกว่ากางเกงมากๆ (ชอบโทษการแต่งกายของเหยื่อกันนักไม่ใช่เหรอเมืองไทย) นั่งมอเตอไซค์ เดินทาง ก็เปิดง่าย ยิ่งใครเรียนวิศวะ สัตวแพทย์ นี่การใส่กระโปรงดูผิดหลักกาลเทศะมากๆ ต้องช่วยกันรณรงค์ต่อไปเรื่องการยึดติดกับชุดและเครื่องแบบ คนที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่เฉพาะlgbtแต่เป็นคนไทยส่วนใหญ่เลย

  2. ปล. ในต่างประเทศ การที่ปฏิเสธไม่จ้างงาน ไม่ขึ้นเงินเดือน หรือเลิกจ้าง discriminate ด้วยสาเหตุจากเพศ สีผิว ความพิการ เชื้อชาติ ศาสนา ถือว่าผิดกฏหมาย บริษัทจะถูกฟ้องร้องได้อ่วมเลย และเสียชื่อเสียงด้วย เพราะฉะนั้นบริษัทจะระวังเรื่องนี้มาก เพราะฉะนั้นถ้าทำงานกับบริษัทข้ามชาติ น่าจะได้รับการคุ้มครองจากกฏวัฒนธรรมขององค์กรในข้อนี้ด้วย

Leave a Reply